หน้าเว็บ

12 มิถุนายน, 2553

พระราชดำรัสเศรษฐกิจพอเพียง


ถ้าสามารถที่จะเปลี่ยนให้กลับเป็น เศรษฐกิจแบบพอเพียง
ไม่ต้องทั้งหมดแม้จะไม่ถึงครึ่ง อาจจะเศษหนึ่งส่วนสี่ ก็จะสามารถที่จะอยู่ได้
การแก้ไขจะต้องการ แก้ไขจะต้องใช้เวลา ไม่ใช่ง่าย ๆ
โดยมากคนก็ใจร้อนเพราะเดือดร้อนแต่ว่า ถ้า
ทำตั้งแต่เดี๋ยวนี้ก็จะสามารถที่จะแก้ไขได้
--------------------------------------------------------
การจะเป็นเสือนั้นมันไม่สำคัญ สำคัญอยู่ที่เราพออยู่ พอกิน
และมีเศรษฐกิจการเป็นอยู่แบบพอมีพอกิน แบบพอมีพอกินหมายความว่า
อุ้มชูตัวเองได้ให้มีพอเพียงกับตัวเอง
----------------------------------------------------------
อันนี้เคยบอกว่า ความพอเพียงนี้ไม่ได้หมายความว่าทุกครอบครัวจะต้อง
ผลิตอาหารของตัวจะ ต้องทอผ้าใส่ให้ตัวเองสำหรับครอบครัวอย่างนั้นมันเกินไป
แต่ว่าในหมู่ บ้านหรือในอำเภอ จะต้องมีความพอเพียงพอสมควร บางสิ่ง บางอย่างที่ผลิตได้
มากกว่า ความต้องการก็ขายได้แต่ขายในที่ไม่ห่างไกลเท่าไร ไม่ต้องเสียค่าขนส่งมากนัก
าสามารถที่จะเปลี่ยนให้กลับเป็น เศรษฐกิจแบบพอเพียง
ไม่ต้องทั้งหมดแม้จะไม่ถึงครึ่ง อาจจะเศษหนึ่งส่วนสี่ ก็จะสามารถที่จะอยู่ได้
การแก้ไขจะต้องการ แก้ไขจะต้องใช้เวลา ไม่ใช่ง่าย ๆ
โดยมากคนก็ใจร้อนเพราะเดือดร้อนแต่ว่า ถ้า
ทำตั้งแตเดี๋ยวนี้ก็จะสามารถที่จะแก้ไขได้
-------------------------------------------------------------
การจะเป็นเสือนั้นมันไม่สำคัญ สำคัญอยู่ที่เราพออยู่ พอกิน
และมีเศรษฐกิจการเป็นอยู่แบบพอมีพอกิน แบบพอมีพอกินหมายความว่า
อุ้มชูตัวเองได้ให้มีพอเพียงกับตัวเอง
-------------------------------------------------------------
อันนี้เคยบอกว่า ความพอเพียงนี้ไม่ได้หมายความว่าทุกครอบครัวจะต้อง
ผลิตอาหารของตัวจะ ต้องทอผ้าใส่ให้ตัวเองสำหรับครอบครัวอย่างนั้นมันเกินไป
แต่ว่าในหมู่ บ้านหรือในอำเภอ จะต้องมีความพอเพียงพอสมควร บางสิ่ง บางอย่างที่ผลิตได้
มากกว่า ความต้องการก็ขายได้แต่ขายในที่ไม่ห่างไกลเท่าไร ไม่ต้องเสียค่าขนส่งมากนัก

เกษตรประณีต

เกษตรประณีต

1.ความเป็นมาของ “เกษตรประณีต 1 ไร่”
เกษตรประณีต 1 ไร่ เป็นความพยายามของปราชญ์ชาวบ้านภาคอีสาน 12 ท่าน ที่ทำการเกษตรผสมผสานมานานปี (15 –50 ปี) บนรากฐานของการพึ่งตนเอง รู้จักคำว่าพอ โดยเริ่มจากการลดรายจ่ายที่ไม่จำเป็น (อุดรูรั่ว) มีการออมน้ำ ออมดิน ออมต้นไม้ ออมสัตว์ ออมเงิน และสั่งเสริมภูมิปัญญาในการแก้ไขปัญหาต่างๆ

2.ทำไมเกษตรกรที่มีที่ดินมากกว่า 1 ไร่ จึงเอาตัวไม่รอด
จากการประชุมเครือข่ายปราชญ์ชาวบ้านและพหุภาคีภาคอีสาน ครั้งที่ 8/2546 ณ ศูนย์เรียนรู้ของพ่อนิยม จิตระดิษฐ์ เครือข่ายของพ่อมหาอยู่ สุนทรชัย จังหวัดสุรินทร์ สมาชิกที่เข้าประชุม สรุปความคิดเห็นเกี่ยวกับ การที่เกษตรกรที่มีที่ดินมากกว่า 1 ไร่ แต่เอาตัวไม่รอดอย่างน่าสนใจ เป็นเพราะ
(1) ขาดศีล (2) ขาดสมาธิ (3) ขาดปัญญา

3.หลักการเกษตรประณีต 1 ไร่ ประกอบด้วย

3.1 การออมน้ำ คุณมาติน วีเลอร์ ชาวอังกฤษ ที่มาตั้งรกรากอยู่ที่ จังหวัดขอนแก่น บอกว่า “อีสานนี้ดี ที่ดินก็มีมาก ดินก็ดี แสงแดดก็ดี น้ำก็เยอะ (น้ำฝน) แม้อีสานจะแห้งแล้ง แต่ก็ยังมีฝนตกตามฤดูกาลทุกปี สามารถปลูกพืช เลี้ยงสัตว์ รวมทั้งเก็บน้ำไว้ใช้ด้วยวิธีการ ที่เหมาะสม เช่น การขุดบ่อน้ำตื้น ขุดสระเก็บน้ำ หรือเจาะบาดาลไว้ในที่ดิน 1 ไร่

3.2 การออมดิน คือ การสร้างความอุดมสมบูรณ์ให้แก่ดินด้วยวิธีการต่างๆ เช่น การใช้ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยพืชสด น้ำหมักชีวภาพ การคลุมดิน เป็นต้น

3.3 การออมต้นไม้ การปลูกพืชที่หลากหลาย ให้มีพืชทั้งระยะสั้น ระยะปานกลาง ระยะยาว จนถึงพืชบำนาญชีวิตของเกษตรกร (ไม้ยืนต้น ไม้ป่าต่างๆ ที่มีราคา เช่น ตะเคียนทอง สะเดา ประดู่ มะค่า) เพื่อสร้างรายได้ที่หลากหลาย เช่น รายได้รายวัน รายเดือน รายปี จนถึง บำนาญชีวิตเกษตรกร

3.4 การออมสัตว์ ในการทำเกษตรประณีต 1 ไร่ จะมีการผสมผสาน การเลี้ยงสัตว์ตามความ เหมาะสม เช่น การเลี้ยง ปลา กบ หมู วัว ควาย เป็ด ไก่ แพะ เป็นการใช้ประโยชน์พืชผลที่มี อยู่ ให้ได้ทั้งอาหารและมูลสัตว์เพื่อการปรับปรุงดิน

3.5 การออมเงิน การทำเกษตรประณีต 1 ไร่ จะเป็นเกษตรที่เป็นการประหยัด ลดต้นทุน จากการ ลดต้นทุน ลดรายจ่ายของเกษตรกร เมื่อมีเงินเหลือ จะต้องมีการออมเงินเพื่อเป็นทุนในการ ผลิต เป็นสวัสดิการของครอบครัวยามเจ็บป่วย เป็นค่าศึกษาเล่าเรียนของคนในครอบครัว เช่น การออมเงินวันละบาท การเข้าร่วมกลุ่มออมทรัพย์ของชุมชน เป็นต้น

4. ผลได้จากการทำเกษตรประณีต 1 ไร่
ผลได้จากการทำเกษตรประณีต 1 ไร่ มีความมุ่งหวังจะให้เกิดผล 2 ระดับ คือ

ระดับแรก ผลได้ต่อตนเองและครอบครัวของเกษตรกร
สามารถปลดทุกข์หนักของเกษตรกรในปัจจุบัน คือ หนี้สิน โดยใช้หลัก เศรษฐกิจพอเพียง เป็นหลักในการปฏิบัติ เกษตรกรและครอบครัว จะต้องปรับเปลี่ยนและการปฏิบัติ มุ่งที่จะพึ่งตนเองให้ได้มากที่สุด อุดรูรั่วของครอบครัวให้ได้ และลดต้นทุนทางการเกษตรด้วยภูมิปัญญาที่สะสมมา เมื่อเกษตรกรประสบผลสำเร็จ สามารถพึ่งตนเองได้ มีอาชีพการเกษตรที่มั่นคงก็จะมีความรักถิ่นฐานบ้านเกิด มีครอบครัวที่อบอุ่น (เพราะมีอาชีพที่ดี) และทำได้เองในพื้นที่

ระดับที่สอง ผลได้ต่อชุมชนและท้องถิ่น
เกษตรกรที่พึ่งตนเองได้ ก็สามารถรวมพลังชุมชนให้เข้มแข็ง เป็นที่อยู่ที่อาศัย ที่ทำกินได้อย่างยั่งยืน สร้างความอุดมสมบูรณ์ กับทรัพยากรในท้องถิ่น ด้วยรากฐานที่สำคัญ 5 ประการ คือ
1.ฐานเศรษฐกิจ 2.ฐานทรัพยากร
3.ฐานความรู้ 4.ฐานสุขภาพ

















แนวทางตามวิถีเกษตรทฤษฎีใหม่

เกษตรทฤษฎีใหม่ ตอนที่ 1



เกษตรทฤษฎีใหม่ ตอนที่ 2



เกษตรทฤษฎีใหม่ ตอนที่ 3



เกษตรทฤษฎีใหม่ ตอนที่ 4

วิถีพอเพียง 1 ไร่แก้จน

1 ไร่แก้จน ตอน 1




1 ไร่แ้ก้จน ตอน 2


18 กันยายน, 2552

การเพาะเลี้ยงจิ้งหรีด

จิ้งหรีดเป็นแมลงเศรษฐกิจที่นิยมบริโภคกันอย่างแพร่หลาย รสชาติอร่อย มีโปรตีนสูง อีกทั้งยังมีความต้องการทางตลาดสูง ส่วนใหญ่ ผู้เลี้ยงจะนำจิ้งหรีดมาเป็นอาหารโดยการแปรรูปคั่วหรือทอดขายตามตลาดทั่วไป หรือกระทั่งทำเป็นจิ้งหรีดอัดกระป๋องเพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับจิ้งหรีดและเพิ่มช่องทางการขาย วิธีการเพาะเลี้ยงจิ้งหรีดทองดำนั้นมีขั้นตอนที่ไม่ยุ่งยากมากนัก ใช้พื้นที่ในการเพาะเลี้ยงไม่มากเหมาะกับผู้ที่ต้องการหาอาชีพใหม่ๆ

การเพาะเลี้ยงจิ้งหรีดตามวิธีการที่จะนำเสนอนี้เป็นวิธีที่สะดวก และลงทุนไม่มากเป็นการเพาะเลี้ยงในตู้ไม้ที่ทำขึ้นแบบโปร่งทำให้อากาศถ่ายเทได้สะดวก สามารถทำความสะอาดและ ดูแลรักษาความสะอาดได้ง่าย อีกทั้งยังใช้ต้นทุนในการเพาะเลี้ยงไม่สูงอีกด้วย

วงจรการเพาะเลี้ยงจิ้งหรีดอุปกรณ์การเพาะเลี้ยง
1. ไข่จิ้งหรีด การเลี้ยงครั้งแรกหาซื้อจากผู้ที่เพาะเลี้ยงอยู่แล้ว ต้นทุนอยู่ที่ 100 บาท/ตู้


2. ตู้ไม้ที่จะใช้เลี้ยงจิ้งหรีด ขนาด กว้าง 90 ซม. ยาว 160 ซม. สูง 80 ซม. ฝาด้านข้างบุด้วยไม้อัด ด้านล่างบุด้วยตาข่ายมุ้งลวด
3. ลังไข่แบบกระดาษ 4-5 ลัง/ตู้4. จานสำหรับใส่ อาหาร, น้ำ ให้จิ้งหรีด

วิธีการเลี้ยงจิ้งหรีดตามช่วงวงจรชีิวิต

ช่วง ไข่-ตัวอ่อน
ระยะเวลาจากการฟักตัว จากไข่จิ้งหรีดเป็นตัวอ่อน จะใช้ระยะเวลา 7-10 วัน เมื่อฟักออกมาเป็นตัวอ่อนแล้วให้นำตัวอ่อนของจิ้งหรีด ไปใส่ในตู้เลี้ยงจิ้งหรีดที่เตรียมไว้ หากพื้นตู้ใช้ลวดตาข่ายปู ควร ใช้ผ้า ปูรองพื้นก่อน กันจิ้งหรีดตัวอ่อน ลอดตระแกรงออกไป ระวัง มด, จิ้งจก, ตุ๊กแก มากินตัวอ่อนจิ้งหรีด

การให้อาหาร ในระยะที่ จิ้งหรีดยังเป็นตัวอ่อนอยู่ ให้อาหารด้วย อาหารไก่สำหรับลูกเจี๊ยบ บดผสมกับ รำข้าว ในอัตรา 1/1 ส่วน

การให้น้ำ ในระยะที่เป็นตัวอ่อนการให้น้ำจิ้งหรีด ควรใช้ฟองน้ำซับน้ำให้ชุ่มแล้ววางในตู้เลี้ยงจิ้งหรีด ตัวอ่อนจิ้งหรีดจะมาดูดกินน้ำที่ฟองน้ำ ไม่ควรให้น้ำโดยใส่ ถ้วยหรือจาน เพราะจะทำให้ตัวอ่อนจิ้งหรีดจมน้ำ

ช่วง ตัวอ่อน-โตเต็มวัย
หลังตัวอ่อนจิ้งหรีดมีขนาดโตขึ้น ใช้เวลาประมาณ 5-7 วัน ก็เอาผ้าที่ปูพื้นออก นำไปซักทำความสะอาดด้วยน้ำเปล่า (ห้ามใส่ผงซักฟอก) เพื่อเตรียมไว้ใช้สำหรับเลี้ยงตัวอ่อนของจิ้งหรีดในช่วงต่อไป

การให้อาหาร ใช้อาหารไก่สำหรับลูกเจี๊ยบบดให้ละเอียด ผสมกับรำ ในอัตราส่วน 1/1 เช่นกัน นำใบมันสำปะหลัง, ใบฟักทอง, ผล ฟักทอง มาให้จิ้งหรีดกินเสริมได้ตามธรรมชาติ

การให้น้ำ ในระยะ ที่จิ้งหรีดเริ่มโต ให้น้ำโดยใส่ภาชนะก้นตื้น หรือจาน แล้ววางก้ิอนหินก้อนเล็กๆ ไว้ในจานเพื่อให้จิ้งหรีดเกาะกินน้ำได้ง่าย

ช่วง ผสมพันธ์-วางไข่ ในระยะจากตัวอ่อน-โตเต็มไว้ จะใช้เวลา 45-50 วัีนหลังจากจิ้งหรีดโตเต็มวัยแล้วจะเป็นช่วงผสมพันธ์ ต้องคอยสังเกตุหากจิ้งหรีดเริ่มผสมพันธุ์แล้ว อีกประมาณ 3-4 วันจิ้งหรีดจะเริ่มวางไข่ให้นำถาดใส่ขี้เถ้าแกลบวางไว้ในตู้ จิ้งหรีดจะขึ้นวางไข่บนถาดขี้เถ้าแกลบ

หลังจากที่จิ้งหรีดวางไข่เสร็จแล้วให้นำไข่จิ้งหรีดในขี้เถ้าแกลบ ใ่ส่เก็บไว้ในกล่องโฟม อย่าให้แน่นเกินไปเก็บไว้ในที่อากาศถ่ายเทสะดวก เพื่อรอเพา่ะเลี้ยงในช่วงต่อไป ส่วนจิ้งหรีดที่โตเต็มวัยแล้ว ก็นำมาทอดกินหรือขายก็ได้ เมื่อเก็บจิ้งหรีดออกแล้วให้ทำความสะอาดตู้ไว้เพื่อรอเลี้ยงจิ้งหรีดในช่วงต่อไป.